โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye)

วันที่เผยแพร่ : 4 ธ.ค. 2562 16:56 น.

วันที่เแก้ไข : 26 ก.ค. 2566 12:58 น.


โรคตาขี้เกียจ หรือโรคตามัว เป็นโรคที่ทำให้ตาของเด็กมัวลง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการตรวจและรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที อาจทำให้ตามัวแบบถาวรและไม่สามารถแก้ไขได้เมื่อโตแล้ว

เมื่อใดที่เด็กต้องพบจักษุแพทย์ ?

การมองเห็นในคนปกตินั้น เริ่มมีการพัฒนาของสายตาตั้งแต่แรกคลอด และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 10 ปี แล้วสายตาจะคงที่จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ ความผิดปกติของตาต้ังแต่เด็กจึงมีผลอย่างมากต่อการมองเห็นไปตลอดชีวิต การตรวจตาในเด็กจึงมีความสำคัญเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง จึงมีหน้าที่ดูแลและสังเกตความผิดปกติทางตา ที่มักต้องใช้การสังเกตอย่างมากเพื่อจะบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

อาการแสดงออกของโรคตาขี้เกียจ

เด็กเล็ก อาจสังเกตเห็นลูกตาดำสั่น หรือเด็กไม่จ้องหน้า, เด็กร้องไห้เมื่อถูถปิดตา 1 ข้าง, พยายามดึงมือที่ปิดตาออก

เด็กโต ถ้าผู้ปกครองทดลองปิดตาทีละข้างสลับกัน เด็กจะมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเหมือนคนปกติ

มีวิธีแก้ไขภาวะสายตาขี้เกียจอย่างไร ?

- ถ้าพบว่ามีสาเหตุ ก็แก้ที่สาเหตุ เช่น ถ้าเด็กมีปัญหาสายตาสั้นยาวไม่เท่ากันมาก ๆ ก็อาจแก้ไขด้วยการใช้แว่นเพื่อให้ตาทั้งสองข้างมองเห็นชัดเท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกัน เป็นต้น

-กระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่เป็นโรคตาขี้เกียจมองมากขึ้น มีหลายวิธีที่นิยมคือการปิดตาข้างที่มองเห็นเสีย เพื่อที่เด็กจะใช้สายตาข้างที่ขี้เกียจมาทำงานบ้าง วิธีที่สองโดยการหยอดยาตาข้างที่ดีให้มัวลง เป็นการมัวแบบชั่วคราว ระยะเวลานานตามที่ยาออกฤทธิ์

- บำบัดสายตา เป็นการฟื้นฟูตาขี้เกียจด้วยการใช้เครื่องมือฝึกกล้ามเนื้อตา และโปรแกรมการฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาด้วยคอมพิวเตอร์

จะป้องกันภาวะตาขี้เกียจได้อย่างไร และ ควรนำเด็กพบจักษุแพทย์เมื่อไร ?

1. เด็กควรได้รับการสังเกตดวงตาตั้งแต่แรกคลอด โดยดูลักษณะขนาดของดวงตาทั่ว ๆ ไปว่าปกติดีหรือไม่ มีอะไรที่มาปิดตาดำของเด็กหรือไม่ ซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตเองได้

2. เมื่อเด็กอายุ 2-3 เดือน ผู้ปกครองต้องสังเกตว่าเด็กจ้องมองเวลาให้นมได้หรือไม่ เมื่อเด็กยังทำไม่ได้ควรต้องปรึกษาแพทย์

3. เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน ควรจ้องมองตามวัตถุได้ โดยตาของเด็กปกติจะจ้องมองนิ่งได้ หลักการคือเมื่อเด็กมองวัตถุ ตาต้องอยู่ตรงกลางตานิ่งจับวัตถุ เรียกกันทางการแพทย์ว่ามีซีจีเอ็ม (CGM) เมื่อเด็กทำไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์

4. เมื่ออายุ 3 ปี เด็กอาจจะพอให้ความร่วมมือในการวัดสายตาโดยใช้แผ่นภาพ เป็นรูปภาพ หรือรูปสัตว์ที่เด็กคุ้นเคยขนาดต่าง ๆ กัน สามารถวัดระดับการมองเห็นของเด็กได้ ในวัยนี้สายตาควรจะใกล้เคียงกับผู้ใหญ่

ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองสงสัยควรพามาตรวจทันที การพาเด็กไปตรวจเช็กสายตาตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ คือสิ่งสำคัญที่ไม่เพียงช่วยป้องกันความผิดปกติทางสายตา ยังสามารถรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตาให้หายขาดได้

ที่มา : www.thaihealth.or.th



ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Student Care
ยึดมั่นธรรมาภิบาล ทำงานเพื่อการศึกษาไทย....


21 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 7 ถ.ประเสริฐมนูกิจ 29 ต.จรเข้บัว อ.ลาดพร้าว จ.กรุงเทพมหานคร 10230
โทร 0808086001
แฟ็กซ์ 029435477
เว็บไซต์ http://www.student.co.th

16
Hide
Show
ติดต่อเราที่นี่